Low Level Laser Therapy (LLLT)

LLLT (Low level laser therapy)

 

          หลายปีที่ผ่านมา มีการนำแสง และเลเซอร์ที่อยู่ในช่วงคลื่นสีแดง และใกล้กับ infrared คือระหว่าง 600-1000 nm. ในระดับพลังงานต่ำ คือประมาณ 10mW - 500mW (0.01 -> 0.01 Watts) มาทำการรักษาโรค โดยอาศัยกลไกที่เรียกว่า photochemical reaction คือใช้พลังงานจากแสงมากระตุ้นเซลล์ของร่างกายให้หลั่งสารเคมี มาซ่อมแซมเนื้อเยื่อและกระตุ้นการทำงานของเซลล์ของร่างกาย มีการนำมาใช้ในโรคเกี่ยวกับ ข้อและกล้ามเนื้อเพื่อลดความเจ็บปวด  สำหรับกรณีของผิวหนังมีการนำมาใช้ในการกระตุ้นการงอกของเส้นผมในคนที่ผมบาง แบบฮอร์โมนและพันธุกรรม

Read more: Low Level Laser Therapy (LLLT)

ผมร่วงหรือผมบาง

ปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติของแพทย์ผิวหนัง คือการที่คนไข้มาปรึกษาเรื่องผมร่วง สิ่งที่แพทย์จะต้องพิจารณา ได้แก่ รูปแบบของการร่วง ว่า ร่วงทั่วๆ ไป ร่วงเฉพาะที่เป็นหย่อมๆ ร่วงแบบมีแบบแผน เช่นที่พบในคนไข้ที่ผมบางศีรษะล้านแบบฮอร์โมนและพันธุกรรม; ระยะเวลาที่เป็นมา; มีอาการผิดปกติของหนังศีรษะร่วมด้วยหรือไม่; มีโรคนำมาก่อนหรือไม่; มีโรคประจำตัว หรือใช้ยาอะไรอยู่ด้วยหรือไม่; มีประวัติญาติพี่น้องที่เป็นลักษณะเดียวกันหรือไม่ และที่สำคัญก็คือ จำนวนที่ร่วง
 
           คนไข้ที่มาพบแพทย์ด้วยอาการผมร่วงนั้น จริงๆ แล้วอาจเป็นการที่ผมร่วงมากขึ้นกว่าเดิม (แต่อาจจะไม่เกินจำนวนที่ยอมรับได้) หรืออาจเป็นการที่ผมร่วงแล้วไม่ค่อยขึ้นก็ได้ ทำให้เมื่อเวลาผ่านไปแล้วผมก็จะบางลงเรื่อยๆ คนไข้ที่ผมร่วงมากขึ้นกว่าเดิม มักจะมีประวัติของอาการผิดปกติไม่นานนัก ส่วนใหญ่เป็นสัปดาห์ หรือไม่เกิน 2-3 เดือน แต่คนไข้ที่ผมร่วงแล้วไม่ค่อยขึ้นนั้น อาการจะค่อยเป็นค่อยไป กว่าจะรู้สึกตัวอีกที ก็เพราะมีคนทักว่า ผมดูบางลงไปกว่าเดิม ซึ่งประวัติของอาการผิดปกติมักจะนานเป็นปี หรือ 2-3 ปี คนไข้ที่ผมร่วงเป็นหย่อมๆ อาจจะไม่สังเกตเห็นด้วยตัวเอง แต่ช่างทำผม หรือคนรอบข้างอาจจะเป็นคนบอก อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้อาจพบร่วมกันในคนเดียวกันก็ได้ ปัญหาที่คนไข้สงสัยอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ผมร่วงเท่าไรถึงจะผิดปกติ บางคนก็จะมาบอกแพทย์เลยว่า นับมาแล้วผมร่วงเกินร้อยเส้น การที่ผมร่วงเท่าไรจึงจะผิดปกติ ต้องอาศัยความเข้าใจวงจรชีวิตของเส้นผมประกอบ

Read more: ผมร่วงหรือผมบาง

ผมร่วง

ในบรรดาสาเหตุที่คนไข้มาพบแพทย์ด้วยอาการผมร่วงมากขึ้นนั้น ภาวะผมบางที่เกิดจากสัดส่วนของผมในระยะงอกลดลง หรือที่เรียกว่า Telogen effluvim นั้นพบได้เป็นอันดับต้นๆ คนไข้มักจะมาด้วยอาการผมร่วงมากขึ้น โดยอาจจะนำเอาผมมาให้ดูด้วย และมักจะบอกว่า ไม่มีรากผม หรือรากผมมันฝ่อไป และชี้ให้ดูส่วนของรากผมซึ่งลีบบาง ไม่เป็นตุ่ม
 
          ในการที่จะเข้าใจภาวะ telogen effluvium นี้จะต้องเข้าใจวงจรของเส้นผมก่อน โดยปกติผมบนศีรษะของคนเรา จะอยู่ในระยะงอกประมาณ 80 ถึง 85 % ผมที่อยู่ในระยะงอกนี้ เรียกว่า anagen hair ผมจะอยู่ในระยะนี้ประมาณ 3 ปี โดยที่บางเส้นก็อายุมาก เกือบ 3 ปี แล้วรอการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระยะต่อไป บางเส้นก็มีอายุน้อยกว่า คละเคล้ากันไป ทำให้ปกติแล้วผมจะทะยอยๆ กันร่วง ไม่ได้ร่วงพร้อมๆ กันทีละมากๆ ผมที่อยู่ในระยะนี้จะติดแน่นกับหนังศีรษะ ถ้าจะพยายามดึงออกมา จะต้องออกแรงพอสมควร และจะเห็นว่า รากผมในระยะ anagen นี้มีลักษณะเป็นตุ่ม เหมือนต้นหอม เมื่อผมมาถึงระยะสุดท้ายของ anagen ก็จะเริ่มเข้าสู่ระยะพัก หรือเรียกว่าระยะ Catagen ซึ่งจะอยู่ในระยะนี้สั้นๆ แล้วเข้าสู่ระยะที่พร้อมจะหลุดร่วงไป หรือ Telogen ซึ่งจะมีอายุประมาณ 3 เดือน รากผมในระยะนี้จะมีลักษณะเล็กลีบ และลอยตัวสูงขึ้นสู่ระดับผิว เมื่อออกแรงดึงไม่แรงนัก ก็จะหลุดออกมาได้

Read more: ผมร่วง

ผมบางลง

คนไข้ที่มีปัญหาเรื่องผมบาง แบบฮอร์โมน และพันธุกรรม มักจะมาพบแพทย์โดยเล่าให้ฟังว่า ผมร่วง แต่แท้จริงแล้ว ถ้าจะพูดให้ถูกต้อง คนไข้กลุ่มนี้ ผมไม่ได้ร่วงมากกว่าปกติ หรือไม่ได้ร่วงมากขื้น แต่มีปัญหาว่าร่วงไปแล้วไม่ค่อยขึ้น แถมผมที่ขึ้นมายังมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ทำให้เมื่อเวลาผ่านไป จึงดูว่าผมบางลงๆ    และเมื่อตรวจที่หนังศีรษะมักจะพบว่าปกติ  และประวัติที่เป็นมา มักจะมีระยะเวลานานเป็นปี หรือหลายปี โดยไม่มีเหตุนำ (precipitating factor) มาก่อน
 
           ในส่วนของพันธุกรรม คนไข้ส่วนใหญ่มักจะปฏิเสธว่า พ่อ หรือแม่ผมก็ไม่บาง แต่ที่ว่าพันธุกรรมในที่นี้ ไม่ได้มีลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมตรงไปตรงมาแบบหนึ่งต่อหนึ่ง กล่าวคือ เมื่อพ่อหรือแม่เป็น ลูกก็จะต้องเป็น  แต่ลักษณะทางพันธุกรรมในที่นี้มีลักษณะซับซ้อนที่เรียกว่า polygenic จึงไม่จำเป็นว่าจะต้องมีลักษณะผมบางในรุ่นพ่อหรือแม่ปรากฏเสมอไป อีกทั้งยังมีความเข้าใจผิดบางประการที่พบบ่อยๆ สำหรับคนไข้ในกลุ่มนี้ ที่มักสงสัยว่า เป็นเพราะทำงานซึ่งมีลักษณะต้องใส่หมวกเป็นประจำหรือไม่ เป็นเพราะยาสระผมหรือไม่ ซึ่งแท้จริงแล้วไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด

Read more: ผมบางลง

โรคผมร่วงเป็นหย่อม

โรคผมร่วงเป็นหย่อม(Alopecia areata) นับว่าเป็นโรคผมร่วงที่พบบ่อยมาก ในเวชปฏิบัติของแพทย์ผิวหนัง ในประสบการณ์ส่วนตัว แทบจะไม่มีวันใดเลย ที่ออกตรวจแล้วไม่มีคนไข้ที่เป็นโรคนี้  คนไข้มักจะมาพบด้วยอาการผมร่วงหายไป เป็นหย่อมๆ หายไปเฉยๆ คือไม่มีอาการอะไร ไม่เจ็บไม่คัน  แทบจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไป และหนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงหายไปก็ดูปกติดี
 
           บ่อยครั้งที่คนไข้ทราบว่าผมร่วงไปจากคนรอบข้าง หรือช่างผมประจำตัว  บางครั้งก็เป็นวงเดียว บางครั้งก็มีหลายๆ วง หรือเป็นบริเวณกว้างๆ บางคนก็เป็นหมดทั้งศีรษะซึ่งเรียกว่า Alopecia totalis  นอกจากที่ศีรษะแล้ว ก็ยังอาจเป็นกับส่วนอื่นที่มีขนด้วย เช่นที่คิ้ว ที่หนวด เครา ในรายที่เป็นมาก ขนก็อาจจะร่วงหายไปหมดทั้งตัวที่เรียกว่า alopecia universalis คนไข้ที่เป็นโรคนี้มีได้ตั้งแต่เด็กๆ ไปจนกระทั่งคนสูงอายุ แต่ส่วนใหญ่จะพบในวัย 20-40 ปีมากกว่า

Read more: โรคผมร่วงเป็นหย่อม


Copyright © 2014. All Rights Reserved.